Information
เรามาทำความรู้จักกันกับ Theta
Theta อ่านออกเสียงว่า “ที-ท้า” เป็นเครือข่ายการถ่ายทอดสดวิดีโอ (Media Streaming )ที่ถูกพัฒนาบนบล็อคเชนเทคโนโลยี โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้ผู้ใช้ได้รับ Reward จากการดู Video คอนเท้นนั้นเอง หรือเราอาจจะพูดได้ว่าคอนเซ็ปของ Theta คือ “Watch to earn” นั้นเอง โดยจริงๆแล้วการที่ผู้ใช้นั้นใช้งาน Theta Network นั้นจะทำให้มีการแชร์แบนด์วิดท์ และทรัพยากร เพื่อการประมวลผลอื่น ๆ ให้กับเครือข่ายของ Theta พร้อมไปด้วย ปัจจุบันผู้ใช้สามารถเข้าถึง Theta Network ผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือ สมาร์ท TV
โดยสรุปแล้วการพัฒนาระบบ Video Streaming นี้เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยปัญหาในค่าธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการสตรีมมิ่ง ด้วยเหตุนี้จากการลดค่าใช้จ่าย และ ยังมี Reward ให้กับผู้ใช้งาน ทำให้ Theta video แพลตฟอร์ม นั้นเติมโตในด้าน ผู้ใช้งานและ มาร์เก็ตแชร์ แบบก้าวกระโดด
โดยก่อนที่เราจะไปเข้าถึงเนื้อหาเชิงลึกของ Theta กันเราจะต้องปูทางเรื่อง Streaming ที่ Theta พยายามจะแก้ไขให้มันดีขึ้นซึ่งสิ่งนั้นก็คือ “Bandwidth”

เมื่อพูดถึงการเชื่อมต่อข้อมูล “Bandwidth” ก็คือความเร็วในการสื่อสารหรือความเร็วในการเชื่อมต่อที่เป็นอัตราการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดของสายเคเบิลหรืออุปกรณ์เครือข่าย มันเป็นการวัดความเร็วของข้อมูลที่สามารถส่งผ่านการเชื่อมต่อแบบมีสายและไร้สาย ซึ่งปกติจะวัดเป็นบิตต่อวินาที
โดยเปรียบเสมือนถนนที่เป็นช่องทางส่งข้อมูล ในขณะเดียวกัน รถยนต์เป็นเหมือนข้อมูลที่วิ่งผ่านช่องทางนั้นๆ ฉะนั้นยิ่งถนนมีความกว้างมากขึ้นๆจะส่งผลให้ส่งข้อมูลได้มากกขึ้นเช่นกัน และ นี้คือคอนเซ็ปของ Theta ซึ่งเป็นการต่อเติมถนนเล็กๆของแต่ละผู้ใช้งานเพื่อที่จะส่งข้อมูลได้อย่างมหาลในอนาคตนั้นเอง
Problem ของวงการ Streaming

ปัญหาที่ Theta พยายามจะแก้ไขของวงการ Streaming ปัจจุบัน ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆคือ
- คุณภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควร
ปัจจุบัน การสร้างระบบคอนเท้นเครือข่ายขนาดใหญ่ หรือ Content Delivery Networks (CDN) นั้นยากและ พัฒนาไม่ทันกับตลาดที่เติบโตแบบทวีคูรของวงการ Streaming ส่งผลให้เกิดปัญหา และ อาการขัดข้องระหว่างใช้บริการ
เทคโนโลยี Content Delivery Networkนี้แม้จะดีและมีองค์กรธุรกิจใหญ่ ๆ นำไปใช้กันในปัจจุบัน แต่ทว่าด้วยเรื่องของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่โตเร็วแบบก้าวกระโดด ทำให้ความต้องการของผู้คนในแง่ของการบริโภคข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียมีสูงขึ้น ประกอบกับอินเตอร์เน็ตที่เร็วและแรงขึ้น ทำให้ผู้คนต้องการข้อมูลที่ความละเอียดสูง ภาพต้องคมชัด เสียงต้องคมชัด คลิปวิดีโอต่าง ๆ ก็ต้องคมชัดระดับ Full HDสิ่งเหล่านี้ก็ส่งผลต่อการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วย นั่นจึงทำให้ CDNอาจตอบสนองได้ช้าลง และ กลายเป็นสิ่งที่จะต้องพยายามปรับตัวให้เหนือขึ้นไปอีกระดับตามความต้องการของผู้คนและสังคม
- ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของข้อมูล
การเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ๆอย่างเช่น 4K , 8K หรือ แพลตฟอร์มอื่นส่งผลให้โครงสร้างรับรองข้อมูลนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงทำให้เกิดปัญหาอย่างเช่น ข้อมูลคอขวด “Data Bottleneck” หรือก็คือข้อมูลที่ต้องรอกันและกันก่อนที่จะส่งใช้ให้กับผู้ใช้งาน
มากไปกว่ารนั้นความท้าทายของเทคโนโลยี Content Delivery Networkก็คือการตื่นตัวของอุปกรณ์ Mobileต่าง ๆ ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนไปแล้ว เกิดการใช้งานรับชมคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่เป็นมัลติมีเดียอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เทคโนโลยีนี้ต้องปรับตัวและพัฒนาไปอีกขั้น เพื่อให้ก้าวทันความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง
- โครงสร้างแบบมีศูนย์กลาง (Centralized)
โครงสร้างส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นจะเป็น Centralized จึงทำให้ข้อมูลนั้นต้องไหลผ่านทางช่องทางนั้นๆเท่านั้น โดยการที่จะสร้างโครงสร้างที่จะตอบโจทย์ผู้ใช้งานนั้นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลจึงเป็นเหตุทำให้หลายๆแพลตฟอร์มนั้นไม่สามารถ พัฒนาคุณภาพการ Streaming ได้จึงเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาในเวลาต่อมา
Solution ทางออกที่ Theta นำเสนอ

- ผู้ใช้งานสามารถได้รับ Reward เป็น TFuel โทเค็น
สำหรับผู้ใช้งานที่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Theta Network สามรถได้ค่าตอบแทนเป็น เหรียญ TFuel ในการแชร์ Bandwidth ให้กับระบบ
- Quality ที่สูง และ Video Streaming ที่ลื่นไหล
ด้วยการนำเทคโนโลยีการกระจายอำนาจจากผู้ใช้งานสู่ผู้ใช้งาน (peer-to-peer network) ทำให้โครงสร้างการสตรีมมิ่งนั้นใหญ่จนที่จะสามารถรับรองความต้องการของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไม่มีปัญหา
- ลดค่าธุรกรรมในการส่งข้อมูล สตรีมมิ่ง
ด้วยการเข้ามาของระบบกระจายอำนาจ วีดีโอแพลตฟอร์มไม่จำเป็นต้องลงทุนอย่างมหาศาลกับการสร้างโครงสร้างอีกต่อไป ซึ่งส่งผลให้เกิดผลประโยชน์กับผู้ใช้งานโดยตรง จากการที่จะได้รับ ประสบการณ์สตรีมมิ่งอย่างไม่ติดขัด รวมถึง Reward จากการใช้งานอีกด้วย
Theta หวังที่อยากจะขับเคลื่อนระบบนิเวศนี้ให้เป็นคอมมูนิตี้ที่ส่งเสริมวงการสตรีมมิ่งให้กันและกันโดย ยิ่งคอมมูนิตี้มีความแข็งแกร่ง ระบบการสตรีมมิ่งก็จะเติมโตขึ้นเช่นกัน
Open-source network & protocol

Theta เป็นอีกเน็ตเวิร์คที่เป็น ซอฟแวร์แบบเปิด (Open Source Platform) โดยเปิดให้นักพัฒนา และ พาร์ทเนอร์เข้ามาพัฒนารวมถึงสร้างสรรค์ผลงานบนแพลตฟอร์มนี้ ปัจจุบันมีคอนเท้นหลากหลายประเภทที่ได้ถูกสร้างและนำมาสตรีมมิ่งบน Theta Network ตัวอย่างเช่น Esports, ดนตรี, TV และ หนังภาพยนตร์ รวมไปถึง peer to peer live streaming ต่อยอดให้กับวงการบันเทิงแห่งยุคอนาคตอย่างแท้จริง
How it function มันทำงานยังไง
Theta Blockchain
Theta บล็อคเชนนั้นมีรากฐานการทำงานคล้ายๆกับ สกุลเงินอื่นๆ โดยใช้ระบบ Proof of Stake (PoS) ในการตรวจสอบข้อมูล โดยจุดเด่นของ Theta ที่แตกต่างจากสกุลเงินตัวอื่นๆคือการแบ่งรำดับขั้นของโหนดออกเป็น 3 ประเภทหลักคือ Enterprise Validator Nodes , Guardian Node และ Theta Edge Nodes
อะไรคือ Nodes ??? และมันมีความสำคัญอย่างไรกับบล็อคเชน ???
ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจกับโหนดทั้ง 3 ประเภทของ Theta เรามารู้รากฐานของโหนดกันก่อน Node หรือ “โหนด” มีความหมายทางศัพท์คอมพิวเตอร์ และ การสื่อสาร ว่า ศูนย์กระจายข้อมูลหรือจุดรวมปลายทางการสื่อสารก็ได้ โดยมีหน้าที่ สร้าง รับ หรือ ส่งต่อข้อมูลซึ่งในวงการบล็อคเชนกระกอบไปด้วยโหนดหลากหลายประเภทแต่ในบทความนี้เราจะโฟกัสไปที่โหนดที่ถูกใช้ฉเพาะกับระบบนิเวศ “Theta” ซึ่งกระกอบไปด้วย Enterprise Validator Nodes, Guardian Node และ Theta Edge Node
- Enterprise Validator Nodes

โหนดประเภทแรกเรียกว่า “Enterprise Validator Nodes” ซึ่งเป็นด่านแรกของการตรวจสอบธุรกรรม โดยจะมีบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆมากกว่า 20 องค์กรเป็นผู้ตรวจธุรกรรมเช่น Google, SAMSUNG เป็นต้น
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Enterprise Validator Nodes ได้ที่ ลิ้ง
- Guardian Node
เลเยอร์ต่อมาเรียกว่า “Guardian Node” ซึ่งมีหน้าที่เหมือน Validator ทั่วไปคือคอยตรวจสอบ และ ค้นหาข้อบกพร่องของแต่ละธุรกรรม ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2020 ทาง Theta ก็ได้มีการประกาศเปิดตัว Theta 2.0 ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะมีผู้ร่วมจากคอมมูนิตี้มาเป็น Validators เป็นจำนวน 1000 ผู้ใช้งานแต่ปัจจุบันนั้นจำนวนของผู้ตรวจสอบใน “Guadian Node” เพิ่มขึ้นเป็น 3000 คอมมูนิตี้เมมเบอร์
- Theta Edge Nodes
เลเยอร์ล่าสุดที่พึ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนั้นก็คือ “Edge Nodes” ซึ่งแตกต่างกับโหนด 2 ตัวก่อนหน้านี้ตรงที่โหนดประเภทนี้ไม่ได้โฟกัสระบบนิเวศของ Theta Network แต่เกิดมาเพื่อเป็นตัวตรวจสอบเกี่ยวกับการ สตรีมมิ่ง โดยตรง หรือ “Theta Edge Network” ปัจจุบันโหนดประเภทนี้จะถูกใช้หลักๆใน THETA.TV ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับสตรีมมิ่งและไลฟ์สด ส่งผลให้ระบบสตรีมมิ่งมีความเสถียรมากขึ้นรวมถึง Peer-to-Peer Network ที่ไม่ต้องตัวกลางอย่างแท้จริง
3.1 Edge computing
3.1.1 Theata Edge computing เป็นหนึ่งในแกนหลักการทำงานของ Theta Edge Network โดยทำงานผ่าน Paradigm ที่ดึงกระบวนการคิดและส่วนที่กักเก็บข้อมูลมาย้นระยะทางกับต้นทางของขข้อมูล ส่งผลให้ระบบตอบสนองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงลดภาระของ Bandwidth ด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ link
3.1.2 แล้ว Edge Computing ทั่วไปแล้วคืออะไร? : Edge Computing หมายถึง การประมวลผลข้อมูลให้แสดงผลเร็วใกล้เคียงกับความเร็วของเครือข่ายมากที่สุด ในข้อมูลเครือข่ายจะถูกส่งจากอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน, หรือ หุ่นยนต์ในไลน์การผลิต (assembly line robots) กลับไปสู่ฐานข้อมูลกลางเพื่อประมวลผลและวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลจากแขนกล (Robot arm)จะส่งรายงานว่ามีข้อต่อจำนวนกี่ข้อที่แขนกลได้ทำการเชื่อมในวันนั้น มีประเก็น(gaskets) จำนวนกี่แผ่นที่แขนกลได้หยิบและเคลื่อนย้ายไปบนสายพานลำเลียง ซึ่งหากจะยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวันนั้นต้องนึกถึงแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของคุณจะมีการถ่ายโอนข้อมูลการประมวลผลส่งกลับไปให้ผู้พัฒนาจากศูนย์ข้อมูลส่วนกลางเพื่อวิเคราะห์ร่วมกับผู้ใช้งานรายอื่นในผลิตภัณฑ์เดียวกัน
สำหรับปลายทางการส่งข้อมูลและศูนย์กลางแบบดั้งเดิมนั้นจะอยู่ในระยะทางการส่งข้อมูลค่อนข้างไกลบางทีอาจจะคนละทวีปเลยด้วย ในอดีตเรื่องความสำคัญของความเร็วไม่ถือว่าเป็นปัญหาทั้งในปัจจัยของข้อมูล Big Data กับ การหมุนเวียนของจำนวนข้อมูลมากมายไปสู่ศูนย์ข้อมูลสำคัญมากกว่าความเร็วสำหรับการวิเคราะห์และการประมวลผล อย่างไรก็ตามการเชื่อมต่อข้อมูลผ่าน Internet of Things (IoT)จำเป็นจะต้องใช้การตอบสนองอย่างทันทีหรือเกือบจะทันที โดยในสถานการณ์นี้การส่งข้อมูลสู่ศูนย์ข้อมูลคือสิ่งที่ดี ถึงแม้การวิเคราะห์และแสดงผลอาจต้องเกิดขึ้นในทันที และนี่คือตอนที่ edge computing เข้ามามีบทบาท
ดังนั้นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลในedge computing สามารถประมวลผลได้จากศูนย์ข้อมูลขนาดเล็ก,ศูนย์ข้อมูลพิเศษแบบ on-site data centre (เช่น ศูนย์ข้อมูลแบบ micro)หรือแม้แต่การเชื่อมโยงผ่าน IoTเอง
คำถามที่พบบ่อย กับ สกุลเงิน “Theta”
Theta กับ Tether นั้นมีความเกี่ยวข้องไหม?
คำตอบ : ไม่เกี่ยวข้องกันเลย ถึงแม้ว่าชื่อของทั้งสอบเหรียญนั้นจะมีความคล้ายกันอาจจะทำให้สลับกันได้เวลาพูดถึงสกุลเงินนั้นๆ โดย อย่างที่ทราบกับว่า “Theta” โฟกัสไปที่การพัฒนา วีดีโอสตรีมมิ่ง แต่ “Tether” นั้นโฟกัสกับการเป็น Stablecoin เสริมในการใช้งานของธุรกรรมทางการเงิน
Theta สร้าง แพลตฟอร์มวีดีโอสตรีมมิ่ง บนบล็อคเชน ?
คำตอบ : ไม่ จริงๆแล้วมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน — Theta ไม่ได้สร้างแพลตฟอร์มวิดีโอใหม่ แต่เป็นเครือข่ายการส่งเนื้อหาใหม่ที่สามารถขับเคลื่อนแพลตฟอร์มวิดีโอ (ที่มีอยู่เดิมหรือแบบ Decentralized)
Community
Website :https://www.thetatoken.org/
Twitter : https://twitter.com/Theta_Network
Discord : https://discord.com/invite/vCXJd5YKDt
Medium : https://medium.com/theta-network
Facebook : https://www.facebook.com/ThetaNetwork/
SDK source code : https://github.com/thetatoken
Founders
Cofounder / CTO
- Cofounder THETA.tv
- BS in Microelectronics, Peking University
- PhD in Computer Engineering, Northwestern University
- Developed multiple patented technologies including VR live streaming as well as instant replays for video games.
Theata Media advisor จาก Youtube
Co-founder ของ YouTube
Theata Media Advisor จาก Twitch
Co-founder of Twitch
Roadmap
.
Tokenomics

เหรียญ “THETA” และ เหรียญลูกอย่าง “TFUEL” โทเค็น
THETA Tokens
เหรียญ Governance โทเค็นของ Theta Network คือ “THETA” เป็นเหรียญ ที่มีไว้ Staking สำหรับผู้ตรวจสอบธุรกรรมในประเภท “Enterprise Validator Nodes” กับ “Guardian Nodes” ถึงแม้ว่าการสร้างเหรียญที่ผ่าน 2 โหนดนี้จะเพิ่มจำนวนของ Theta แต่ผู้ตรวจสอบจะได้รับ Reward เป็น สกุลเงินลูกอย่าง TFuel แทน
ปัจจุบันเหรียญ THETA มีมูลค่า $6.399970 ต่อ 1 เหรียญ โดยได้กำหนดไว้ว่าเหรียญ THETA จะมีจำนวนได้แค่ 1 พันล้านเหรียญเท่านั้น ซึ่งมีมูลค่าทางตลาดอยู่ที่ $6,399,969,960 เหรีญยสหรัฐ
*อ้างอิงมูลค่าเหรียญวันที่ 13 ตุลาคม 2021
TFuel Tokens
“TFuel” หรือ “ที-ฟูเอล” เป็นเหรียญ On-Chain operation ซึ่งมีความหมายว่าเป็นเหรียญที่ถูกใช้เป็นควบคู่ของในแต่ละธุรกรรม ตัวอย่างเช่นการชำระค่าใช้บริการ วีดีโอสตรีมมิ่ง รวมไปถึงการ Staking ด้วยโดยถ้าผู้ใช้งานต้องการ Staking ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ “Theta” หรือ “TFuel” ก็จะได้ Reward เป็น Tfuel ทั้งหมด
เปรียบได้ว่าเหรียญ “TFuel” เป็นค่า Gas ในระบบของ Theta Network ทั้งหมด ปัจจุบันเหรียญนี้มีจำนวน 5,445,881,696 เหรียญซึ่งมากกว่าเหรียญหลักอย่าง “THETA” ถึง 5+ เท่า รวมถึงมูลค่า $0.308739 เหรียญสหรัฐต่อ 1 เหรียญ TFuel โดยมีจำนวนเหรียญเพิ่มขึ้นตลอดเวลาตั้งแต่ถูกสร้างขึ้นมา ท้ายที่สุดนี้ในเดือน ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมาทาง Theta ได้ออกมาประกาศว่า Theta 3.0 จะมีแนวทางการควบคุมปริมาณเหรียญ (Crypto-Economics) สำหรับ TFuel โดยประเด็นหลักจะอยู่ที่การนำมาใช้ของคอนเซ็ป Staking และ Burning เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบปฏิบัติการในเน็ตเวิร์คให้ดียิ่งขึ้นนั้นเอง
Theta Wallet Apps

ตัวอย่างขั้นตอนแรกในการสร้าง Theta Wallet (Mnemonic Phrase)
พึ่งเปิดตัวได้ไม่นานกับ Theta Wallet ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต ที่สามารถกักเก็บกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัว (mnemonic phrase) ซึ่งสามารถใช้รับหรือจ่ายคริปโทเคอร์เรนซีได้ ในกรณีที่ผู้ใช้งานทำอุปกรณืที่มี Theta Wallet หายหรือมีจุดประสงค์ในการย้ายข้อมูล Wallet ไปยังอุปกรณ์ใหม่ ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้โดยการเก็บเหรียญไว้ใน Cold Storage ซึ่งหมายถึง กระเป๋าเงินที่สร้างในรูปแบบของ Hardware และไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้ต้องการทำธุรกรรมจะต้องดึงข้อมูลออกจาก Cold Wallet ใส่เข้าไปในระบบเพื่อยืนยันการทำธุรกรรม
Distribution การกระจายตัวของเหรียญ
- ข้อตกลงการขายโทเคนดิจิทัลล่วงหน้า หรือ “Private sale tokens” แบ่งออกเป็น 30% ของเหรียญทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเปิดตัวของเหรียญวันที่ 26th กันยายน 2017 ถึง 27th ธันวาคม 2017
- เป็นจำนวน 300,000,000 THETA
- มูลค่า $20 ล้านเหรียญสหรัฐ
- มูลค่า $0.067 ต่อ 1 เหรียญ
- กระจายให้ทีม Theta เป็นสัดส่วน 7.49% ของเหรียญทั้งหมด
- กระจายให้ Advisors เป็นสัดส่วน 1.23% ของเหรียญทั้งหมด
- กระจายให้พาร์ทเนอร์ เป็นสัดส่วน 12.5% ของเหรียญทั้งหมด
- กระจายในส่วน Network Seeding เป็นสัดส่วน 12.5% ของเหรียญทั้งหมด
- กระจายให้ Theta Labs Reserves Constitutes 36.28% ของเหรียญทั้งหมด
*จำนวนเหรียญทั้งหมด 100% จะเท่ากับ 1,000,000,000 เหรียญ
Partnerships

พาร์ทเนอร์ของ Theta นั้นมีความน่าสนใจมากตรงที่ส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นแพลตฟอร์ม สตรีมมิ่ง ของตนเองทั้งนั้นที่เริ่มเข้ามาใช้กลไกลบล็อคเชนของ Theta เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนของ โครงสร้างครือข่ายมากไปกว่านั้นยังเพิ่มความเร็วในการส่งต่อข้อมูลให้กันอีกด้วยโดยในปี 2020 พาร์ทเนอร์ส่วนใหญ่ของ Theta จะมีแต่แพลตฟอร์มขนาดเล็กถึงกลาง แบบที่ชื่ออาจจะไม่ค่อยจะคุ้นหู คนไทยเท่าไหร่นักแต่ในปี 2021 ได้มีการร่วมมือกับ องค์กร ที่มีชื่อเสียงและเห็นประสิทธิภาพของ โครงสร้างที่ Theta ได้สร้างขึ้นตัวอย่างเช่น Lion Gate(บริษัทผลิตภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา) , OneChampionship (สมาคมเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้แบบผสมในประเทศสิงคโปร์) เป็นต้น

รายชื่อพาร์ทเนอร์บางส่วนของ Theta
- Lion Gate
- NASA
- One Championship
- G FUEL
- Sizzle Popcorn
- Sweeps
- God Mode Unlocked
- EasternMediaGG
- Cruz Ctrl
- Zetetic News Network
- Alt Customs
- JSCO
หลายๆพารืทเนอร์และแพลตฟอร์มได้มา embedded แพลตฟอร์มของตัวเองลงบน Theta Network ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าไปใช้งานได้ฟรีผ่าน Theta.TV

นักลงทุนองค์กรเชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Corporate Investors
- Samsung NEXT
- Sony Innovation Fund
- Media investors BDMI Bertelsmann Digital Media Investments
- CAA Creative Artists Agency
- Traditional Silicon Valley VCs
- DCM
- Sierra Ventures.
Summary
เป็นอีกหนึ่งสกุลเงินที่มีความแตกต่างจากสกุลเงินอื่นๆอย่างชัดเจนโดยฉเพาะการที่ รวม คอนเซ็ปของเทคโนโลยี บล็อคเชน กับ การสตรีมมิ่งวีดีโอที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกๆวัน มากไปกว่านั้นยังเป็นการปฏิวัติการส่งข้อมูลสตรีมมิ่งอย่างแท้จริง บทความนี้ได้ถูกเขียนขึ้นในเดือน ตุลาคม 2021 ซึ่งทาง Theta Official พึ่งจะประกาศถึง Whitepaper 3.0 อย่างเป็นทางโดยรายละเอียดนั้นจะเป็นการพัฒนา และ ขยาย Theta Network ให้ครอบคลุมมากขึ้น อย่างเช่นการเข้าสู่วงการ Non-fungible token (NFT) สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มได้ที่ Whitepaper 3.0 ท้ายที่สุดนี้สกุลเงิน Theta พึ่งเกิดมาได้ไม่กี่ปีฉนั้นเรายังด่วนสรุปไม่ได้ว่าสกุลเงินนี้จะมาเปลี่ยนแปลงวงการๆสตรีมมิ่งจริงๆรึปล่าว แต่ที่เห็นได้ตรงกันก็คือความตั้งใจที่จะมาแก้ปัญหาและพัฒนาวงการนี้นั้นเอง
คำเตือน
1.คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน
2.คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนโปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
3.สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้