Tether101

Tether ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยน กระเป๋าเงิน ผู้ประมวลผลการชำระเงิน บริการทางการเงิน และ ATM สามารถใช้โทเค็นที่ได้รับการสนับสนุนจากคำสั่ง fiat บนบล็อกเชนได้อย่างง่ายดาย ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อคเชน Tether ช่วยให้คุณสามารถจัดเก็บ ส่ง และรับโทเค็นดิจิทัลแบบตัวต่อตัว ทั่วโลก ทันที และปลอดภัยด้วยต้นทุนทางเลือกเพียงเล็กน้อย
Latest Update:
Legal Name:
-
Headquarters Regions:
Hong Kong
Company Size:
-
Founded Date:
2014
Information
Founders
Roadmap
Tokenomics
Partnerships
Summary

Information

USDT หรือ Tether ที่เป็น Stablecoin ที่มีมูลค่าอันดับ 1 ของตลาด Crypto และการใช้งานที่แพร่หลายโดย USDT ที่ผลิตออกมานั้นจะอ้างอิงกับ Tether Reserve ที่รองรับด้วยสินทรัพย์หลาย ๆ ชนิด โดยในปัจจุบัน USDT นั้นได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งของเหรียญสกุลเงินดิจิตอลประเภท “Stable Coin”

บทความนี้จะพาทุกท่านเข้ามาเรียนรู้กับเบื้องหลังของมูลค่าเหรียญนี้กันว่ามีความเป็นมาอย่างไร และใครเป็นคนที่พัฒนา เรื่องราวมากมายที่ยังไม่เคยถูกบอกเล่าจากที่ไหนมาก่อน เดี่ยวผมจะรวบรวมมาให้ทุกท่านได้อ่านกันในบทความนี้ครับ

Stablecoin คลื่นลูกใหม่ของโลก “การเงิน” 

จากเทคโนโลยีที่ผันผ่าน สู่คลื่นลูกใหม่ที่จะมาเปลี่ยนวงการในด้านการเงินไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อในปัจจุบันได้เกิดสิ่งที่ทำให้ความเชื่อของการเงินนั้นจะถูกตรวจสอบได้โดยประชาชนทุกคน เหรียญที่เป็นต้นกำเนิดให้ผู้คนนั้นสนใจในการเทรด Bitcoin และนั้นคือเหรียญ Stable Coin ซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก โดยปัจจุบันผู้เทรดหน้าใหม่จำนวนมากต่างเริ่มสนใจแลกเงินกระดาษ เอาเข้ามาเป็นเหรียญ Stable Coin โดยมันจะมีราคาอิงกับราคาของเหรียญ US Dollars เสมอๆ จึงทำให้เกิดกระแสนิยมชมชอบของเหรียญ USDT ที่นับได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน




Stable Coin ทำงานไม่มีวันหยุด 

Stable Coin นั้นไม่เคยมีวันหยุดเพราะมันอาศัยเทคโนโลยีการทำงานจาก Blockchain โดยมีหน้าที่หลักคือการรักษาสัญญาผ่าน Smart Contract ที่เปรียบเสมือกฏระเบียบในการตกลงกันโดยผ่านการทำงานของระบบ Coding ทางคอมพิวพ์เตอร์เพื่อระบุและตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินการทางธุรกรรมต่างๆบนโลก Blockchain

แล้ว Stablecoin มีกี่ประเภท ?

การแบ่งประเภทของ Stablecoin นั้นจะถูกแบ่งตามสินทรัพย์ที่ถูกนำมารองรับหรือค้ำประกันให้ Stablecoin นั้นมีมูลค่า โดยมันแบ่งออกได้ 4 ประเภทดังนี้


1.ค้ำประกันด้วยเงินกระดาษหรือเรียกกันว่า Fiat Collateralized

การค้ำประกันประเภทนี้ก็เหมือนกันกับอย่างที่ทำกันโดยทั่วไป กล่าวคือการนำเงินกระดาษ หรือจะเรียกได้ว่าเงินสดที่ใช้ในโลกจริง เอาไปค้ำประกันผ่านการบริการที่น่าเชื่อถือและเป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับจากคนทั่วไป เอาไปฝากไว้เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเหรียญ Stable Coin หรือ เหรียญสกุลเงินดิจิตอล อื่นๆออกมา การค้ำประกันประเภทนี้ดูเหมือนไม่มีข้อน่าผิดแปลกอะไร แต่เราอย่าลืมความเคยชินไปด้วยว่าเราโดนตรวจสอบจากบุคคลกลางที่อาจมีสิทธิ์ในการโอนย้ายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ถูกค้ำประกันเอาไว้ เราจะเชื่อใจเขาได้อย่างไร และนี่ก็ยังถือว่าเป็นจุดอ่อนหนึ่งบนองค์กรบนโลกที่จะเปลี่ยนมาใช้ Blockchain ในการจัดการ ยังไงผู้ที่ค้ำประกันไว้ก็ต้องหมั่นตรวจสอบให้ดีเป็นอย่างมากในการลงทุน


2.ค้ำประกันด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ หรือเรียกกันว่า Commodity Collateralized

การค้ำประกันประเภทนี้จะเป็นเหมือนการพูดง่ายๆว่า “หมูมา ไก่ไป” นั้นหมายความว่าการตกลงทั้ง 2 ฝ่ายนั้นพอใจในการแลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่ตนต้องการ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งในกรณีนี้จะเหมือนเป็นการชนะในการแลกเปลี่ยนทั้ง 2 ฝ่าย โดยในปัจจุบันสินทรัพย์ที่ใช้ในการรองรับนั้น นิยมใช้เป็นทองคำ น้ำมัน ที่ดิน หุ้น หรือ ตราสาร เป็นต้น 

การค้ำประกันประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้แลกเปลี่ยนที่ต้องการถือสินทรัพย์ชนิดที่จะแลกเปลี่ยนนั้นต่อไป โดยเพียงแค่จะอาศัยจังหวะของความเสี่ยงในราคาขึ้นลงของสินทรัพย์นั้นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเป็น Stable Coin และทำการเข้าไปซื้อในราคาที่ถูกลงกว่าก็เป็นได้ โดยการกระทำเช่นนี้ก็จะสามารถลดวิธีการทำงานระหว่างสินทรัพย์ในแต่ละระบบที่ตัวแปรต่างกันได้อีกด้วย


 

3.ค้ำประกันด้วยเหรียญสกุลเงินดิจิตอล หรือเรียกกันว่า Crypto Collateralized

การค้ำประกันประเภทนี้นักเทรดมือฉมังหลายๆคนคงทราบกันดี โดยเฉพาะนักเทรดสาย DeFi ที่พวกเขานั้นมีช่องทางการทำเงินได้จากหลายช่องทางและหนึ่งในนั้นคือการหา Stable Coin เอามาใช้งานโดยที่ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินที่ต้องลดมูลค่าไป วิธีนี้จะค่อนข้างเหมาะสมกับคนที่ต้องการสะสมสินทรัพย์ประเภทเหรียญสกุลเงินดิจิตอลอย่าง BTC หรือ ETH 

วิธีการทำงานของการค้ำแบบ Crypto Collateralized ผู้ใช้งานก็จะต้องหาการบริการค้ำประกันเพื่อแลกเปลี่ยนเป็น Stable Coin ออกมา เช่นการบริการจาก Venus Protocol ที่ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญอย่าง BNB ไปแลกเป็นเหรียญ Stable Coin อย่าง BUSD ออกมาได้ ในตลาด Borrow Markets นอกจากนี้ยังสามารถไปดูแพลตฟอร์มอย่าง AAVE ที่เป็นแพลตฟอร์มเสมือนในการปล่อยกู้ยืมเงินในโลกของ Blockchain ซึ่งก็มีแนวคิดคล้ายๆกันคือการค้ำประกันด้วยเหรียญสกุลเงินดิจิตอล เพื่อแลกเป็นเงิน Stable Coin ออกมา



4.ไม่ค้ำประกันด้วยอะไรเลย หรือเรียกกันว่า Non Collateralized

การไม่ค้ำประกันอะไรเลย ก็เหมือนเงินที่เสกขึ้นออกมากลางอากาศ ซึ่งปัจจุบันเราก็ใช้วิธีนี้บริหารเงินกระดาษในปัจจุบันเหมือนกัน โดยตัวกสนควบคุมมูลค่าของเงินอย่างเงินบาทหรือดอลลาร์จะใช้วิธีการปรับลดดอกเบี้ยหรือปรับลดอุปทานของเงินมากกว่า ซึ่งจะสังเกตุเห็นได้ว่าไม่ได้มีทรัพสินย์อะไรมาค้ำ แตกหลักการการปรับสมดุลของมูลค่านั้นจะดำเนินการโดยระบบ Coding โดยตกลงทำกันผ่าน Smart Contract ในการปรับสมดุลของราคาโดยหากเหรียญนั้นมีมูลค่าในตลาดอยู่ที่ 3 ดอลลาร์ ระบบจะเสกเหรียญขึ้นมาเพื่อทำให้ราคาของเหรียญลดลงเหลือ 1 ดอลลาร์ซึ่งข้อดีของ Non Collateralized มีด้วยกันหลักๆ ดังนี้

  • เป็นอิสระจากหน่วยงานกลางเนื่องจากไม่มีตัวควบคุม
  • ไม่เกิดการรวมศูนย์ เนื่องจากทุกอย่างทำบนสัญญา Smart Contract
  • มั่นใจ ปลอดภัย ใช้ระบบอัลกอริทีมในการปรับสมดุล

ระบบ USDT ค้ำด้วย Fait Collateralized

Tether อยู่ในหมวดหมู่ของเหรียญ stablecoin ที่มีหลักประกันค้ำ ซึ่งจัดอยู่ในชนิด  crypto-collateralized stablecoin ดังนั้นเรื่องราคาจะค่อนข้างเสถียรกว่าระบบที่ที่ไม่มีหลักประกัน การดำเนินการในลักษณะนี้จะคล้ายกับธนาคารสำรองเพื่อรักษาสมดุลของปริมาณโทเค็นที่อยู่ในระบบ และยังมีปัจจัยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกอีกด้วย

USDT เหรียญ Stablecoin ที่ไม่มีจำนวนจำกัด

USDT เป็นเหรียญที่ไม่จำกัดจำนวน นั้นหมายความว่ามันสามารถเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ โดยมีปัจจัยของทุนสำรองของบริษัทเอาเงินเติมเข้ามาในระบบ โดยใช้ระบบ Proof Of Reserves ซึ่งหมายความว่าบริษัทนำ USD มาแลกจำนวนเท่าใด จำนวนเหรียญ USDT ที่ออก มาหมุนเวียนในระบบก็จะมีปริมาณเทียบเท่ากัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ USDT นั้นได้รับความต้องการในตลาดอย่างต่อเนื่องในฐานะที่หลบภัยสำหรับนักลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ USDT เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ อีกด้วย


USDT ทำงานบนบล็อกเชนของเครือข่ายอื่น 

USDT ไม่มีระบบบล็อกเชนที่พัฒนาขึ้นเอง เริ่มแรกใช้เป็น Omni Layer Protocol เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างและซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและสกุลเงินที่กำหนดเอง "สร้างขึ้นบนเครือข่าย Bitcoin" ธุรกรรมดำเนินการบน Bitcoin Blockchain

ต่อมา มีการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้ USDT ข้ามบล็อกเชนหลายตัวได้ ปัจจุบัน Tether รองรับบล็อกเชนหลายตัว รวมถึง Bitcoin, Algorand, EOS, Tron, OMG และ “Ethereum” Blockchain อีกด้วย

3 สิ่งที่ USDT ถูกใช้ได้จริงในปัจจุบัน

อย่างที่ทราบกันดีกว่า Stable Coin อย่าง USDT นั้นปัจจุบันถูกนิยมนำมาใช้เป็นอย่างมากและรู้

หรือไม่ นักเทรดส่วนใหญ่นั้นสามารถนำ USDT ไปใช้โดยส่วนหลักเป็นไปตามหัวข้อประกอบต่างๆ 3 หัวข้อดังนี้

1.เก็บ/ถือ USDT

คุณสามารถถือ Tether และรอโอกาสเหมาะในการใช้หรือแลกเปลี่ยน คุณสามารถจัดเก็บ USDT ของคุณได้อย่างปลอดภัยในบัญชีเว็บเทรดหลักของคุณ

2.เทรด USDT

คุณสามารถใช้ USDT ในการซื้อขายสินทรัพย์บนเว็บเทรด โดย USDT จะช่วยให้คุณซื้อหรือขายคริปโตโดยใช้มันได้อย่างง่ายดาย 

3.ส่ง USDT

USDT ช่วยให้คุณโอนเงินได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็วเเละง่ายดาย คุณสามารถซื้อ USDT ออนไลน์เเล้วส่งให้ใครก็ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทั้งนี้ยังใช้ USDT เอาไว้ซื้อสินค้า หรือจะเอาไว้บริจาคก็ได้

Tether Gold อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Tether 

Tether ประกาศเปิดตัว “Tether Gold (XAUT)” เหรียญ stablecoin ที่ผูกกับทองคำโดยราคาจะเท่ากับทองคำของโลกจริง โดยระบบดังกล่าวทำงานอยู่บน ERC-20 ใน Ethereum blockchain และ TRC20 บน Tron ( TRX ) อีกด้วย

ทองคำที่นำมาผูกกับเหรียญ XAUT นั้นเป็นทองคำที่มีอยู่จริงซึ่งถูกเก็บไว้ที่ “Switzerland vault” โดย Tether ระบุว่า ทองคำเป็นผลิตภัณฑ์เดียวที่ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการดูแล จากข้อมูลของ Ethereum Blockchain แสดงให้เห็นว่าปัจจุบัน เหรียญ XAUT มี supply อยู่เกือบ 4,000 โทเค็น ซึ่งจะเท่ากับว่ามี market cap อยู่ที่ประมาณ 6.9 ล้านดอลลาร์

ปัญหาของ USDT

อย่างไรก็ตาม USDT กำลังประสบปัญหาด้านความน่าเชื่อถือจากการผลิตเงินออกมามากเกินไป และบริษัทที่ตรวจสอบไม่น่าเชื่อถือเพียงพอ คำถามต่อมาทำให้หลายๆ คนอาจสงสัยว่า "จริงหรือไม่" ที่บริษัท Tether อ้างว่ามีทรัพย์สินสนับสนุน จริงหรือไม่ จากการตรวจสอบ USDT อ้างว่าสนับสนุนเงินดอลลาร์ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ก่อนที่โทเค็นจะถูกสร้างขึ้น แต่คนอื่นจะรู้ได้อย่างไรว่า หลักประกันมีเงินดอลลาร์จริงๆ ไม่ใช่แค่สร้างเองขึ้นมาแบบลอยๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังถูกเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมคริปโตอยู่อย่างต่อเนื่อง



Founders

นาย JL VAN DER VELDE ชาวเนเธอร์แลนด์ และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเว็บเทรดชื่อดังอย่าง Bitfinex ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่เก่าแก่ที่สุดของ crypto โดยเปิดมาตั้งแต่ปี 2013 

ปัจจุบัน นาย JL VAN DER VELDE อาศัยอยู่ที่ไต้หวันตามโปรไฟล์ LinkedIn ของเขา นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็น CEO ของ Tether (USDT) อีกด้วย นาย JL VAN DER VELDE ได้รับการศึกษาจาก National Taiwan Normal University ในปี 1980 และใช้เวลากว่าสามทศวรรษในการทำงานในด้านเทคโนโลยี


LinkedIn

Roadmap

2014 - ก่อตั้งบริษัทและออกเหรียญ USDT (เปิดบริการในปัจจุบัน)


Tokenomics

ปัจจุบันจำนวนเหรียญ USDT นั้นถูกพิมพ์ออกมาแล้วกว่า 71,385 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยยังคงมีแรงอัดฉีดจากฝั่งของ USD อย่างต่อเนื่องจากกระแสความนิยมของราคาสินทรัพย์ดิจิตอลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ USDT นั้นถูกมองเป็นเหรียญแรกๆ ที่นักเทรดหน้าใหม่นั้นจำเป็นต้องนำสินทรัพย์ไปแลกเป็น Stable Coin เหรียญ USDT ออกมา

ซึ่งในการตรวจสอบการพิมพ์ในแต่ละครั้งทุกท่านสามารถไปติดตามได้ที่ Twitter ชื่อบัญชี “@tetherprinter” ตามลิ้งนี้ Link




Partnerships

Summary

เหรียญ Stable Coin อย่าง USDT นั้นได้รับความนิยิมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งโดยพื้นฐานของความเป็น Stable Coin ที่เปรียบเสมือนสินทรัพย์ที่มูลค่าคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง โดยอ้างอิงราคาจาก USD ของเงินฝั่งโลกจริง จึงทำให้ USDT นั้นเป็นเหรียญแรกๆ ที่ผู้เล่นหน้าใหม่ในวงการนั้นจะต้องซื้อกันมีติดไว้ในพอร์ทเพื่อเอาไว้แลกเป็นสินทรัพย์ประเภทสกุลเงินดิจิตอลออกมา

แต่ก็ยังเป็นที่น่าจับตามองเรื่องการพิมพ์เงินโดยไม่มีหลักทรัพย์อ้างอิง นั้นจะส่งร้ายให้กับตลาดเงินดิจิตอลเป็นอย่างมาก ยังไงเรื่องนี้ก็ยังถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังกันไว้ให้ดีด้วย หวังว่าทุกท่านจะชอบบทความนี้กันนะครับ


Source :

https://tether.to/
https://silamoney.com/cryptocurrency/the-four-types-of-stablecoins-in-2021/
https://www.investopedia.com/terms/t/tether-usdt.asp

เหรียญอื่นๆที่น่าสนใจ