Kusama101

Polkadot นั้นเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในบรรดาคนเล่นคริปโต แต่ยังคงมีคนที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยิน Kusama ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของ Polkadot
Latest Update:
March 18, 2022
Legal Name:
Web3 Foundation
Headquarters Regions:
Zug, Switzerland
Company Size:
11-50
Founded Date:
2016
Founders:
Information
Founders
Roadmap
Tokenomics
Partnerships
Summary

Information

Polkadot นั้นเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในบรรดาคนเล่นคริปโต แต่ยังคงมีคนที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยิน Kusama ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของ Polkadot วันนี้เราจะไปรู้จักกับ Kusama และบทบาทสำคัญในระบบของ Polkadot กับ CoinAraiDee กันครับ

Kusama คืออะไร?

Kusama คือ Polkadot เวอร์ชันแรกเริ่มในขั้นทดลองซึ่งอยู่ในระบบเครือข่ายคนละตัวกัน โดยทำตัวเป็น sandbox สำหรับผู้พัฒนา เพื่อที่จะได้ทำการทดลองและทดสอบระบบก่อนจะปล่อยมาในระบบหลักของ Polkadot ซึ่ง Kusama นั้นยังทำเป็นที่ทดลองสำหรับระบบเทคโนโลยีที่คล้ายๆกัน ที่จะทำไปเปิดในระบบของ Polkadot อีกด้วย Kusama นั้นคือต้นแบบของ Polkadot จึงมีระบบต่างๆ เหมือนกัน เช่นการมีโทเคนประจำระบบอย่าง KSM ในการคำนวณต่างๆ และให้สิทธิในการเข้าร่วมและสิทธิการโหวตให้แก่ผู้ถือเหรียญ

จะเห็นว่า Kusama นั้น จะเกี่ยวข้องกับ Polkadot อย่างมาก เพื่อความเข้าใจของผู้อ่าน เรามารู้จัก Polkadot และทางผู้ก่อตั้งอย่างมูลนิธิ Web3 กันครับ

รู้จักกับ Polkadot

 

Kusama คือระบบต้นแบบของ Polkadot ซึ่งการพัฒนาระบบนั้นมีเป้าหมายที่จะสร้างระบบที่แข็งแกร่งที่สุดเพื่อความปลอดภัย การรองรับการขยายตัว และการพัฒนานวัตกรรม ด้วยความช่วยเหลือของ Kusama ทำให้ Polkadot นั้น รองรับการขยายตัวได้ รองรับระบบอื่นๆได้ และเป็น protocal สำหรับ web 3.0 ที่ปลอดภัย

อะไรคือ Polkadot

Polkadot คือบล็อกเชนตัวแรกที่สามารถรองรับการ sharding ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งช่วยในการขยายฐานผู้ใช้งานโดยการให้บล็อกเชนนั้นติดต่อระหว่างกันในสภาวะที่ปลอดภัยและไม่ต้องใช้การอนุมัติ

Polkadot นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อและเสริมความปลอดภัยให้ระบบบล็อกเชน ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณะ ระบบไร้การอนุมัติ และระบบส่วนตัว หรือแม้แต่เทคโนโลยี Web3 ซึ่งมันจะช่วยให้ระบบบล็อกเชนอิสระสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้บนอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

Polkadot นั้นเป็นระบบเครือข่ายที่มีเสาหลักเป็นการควบคุมและความสามารถในการอัพเกรด เครือข่ายนี้มีชุดเครื่องมือล้ำสมัยสำหรับการควบคุมระบบ และการใช้มาตรฐานของ WebAssembly เป็น “meta-protocal” นั้น ทำให้ระบบสามารถอัพเกรดเองได้โดยอัตโนมัติ Polkadot นั้นจะปรับไปตามความต้องการของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น โดยไม่มีความเสี่ยงของการเกิด network fork

ด้วยการเชื่อมต่อเหล่านี้ Polkadot จึงเป็นระบบฐานสำหรับเว็บไร้ศูนย์กลาง ที่ผู้ใช้งานสามารถควบคุมข้อมูลของตนเองและไม่ถูกจำกัดด้วย trust ในระบบเครือข่าย

เป้าหมาย และ การแก้ปัญหา

นวัตกรรม

Kusama นั้นมีทีมพัฒนาเดียวกันกับ Polkadot และใช้เครื่องมือและโค้ดแทบจะเหมือนกันทุกอย่าง ระบบนั้นได้ใช้เทคโนโลยีตัวล่าสุดจาก Parity Technologies และมูลนิธิ Web3 ก่อนที่ Polkadot จะได้ใช้งานเสียอีก

การรองรับการขยายตัว

Kusama นั้นมีระบบ shard และระบบควบคุมแบบเปิด เพื่อรองรับการขยายตัวของฐานผู้ใช้งาน และเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นหลักประกันในอนาคตสำหรับธุรกิจ ตลาด และแอพพลิเคชัน เพื่อที่จะปล่อยระบบและเติบโต

การรองรับระบบอื่นๆ

Kusama นั้นนำบล็อกเชนหลายตัวมารวมกันเป็นระบบ shard เพียงหนึ่งเดียว ทำให้ผู้พัฒนาทุกท่านถูกปลอดปล่อยจาก silo ที่ถูกสร้างโดยระบบบล็อกเชนรุ่นเก่าๆ

การปรับแต่ง

ผู้พัฒนาสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นบล็อกเชนของตนเองได้ และสามารถเชื่อมต่อกับ Kusama ด้วย Substrate

ผู้ก่อตั้งและหุ้นส่วน

Kusama นั้น ได้รับการสนับสนุนหลักจากมูลนิธิ Web3 จากการเป็นส่วนหนึ่งของ Polkadot ซึ่งผู้ก่อตั้งคือ Dr.Gavin Wood แห่งมูลนิธิ Web 3 นั่นเอง

มูลนิธิ Web3

  •  อะไรคือมูลนิธิ Web3?

มูลนิธิ Web3 นั้นเป็นมูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไรจากสวิตเซอร์แลนด์ ถูกตั้งขึ้นภายใต้มาตรา 80 ของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งสวิตเซอแลนด์ โดย Dr. Gavin Wood ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในเรื่องการพัฒนา การใช้งาน และการบำรุงรักษาระบบ “Web3” ซึ่งระบบนี้ ได้ส่งเสริมในการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีและการประยุกต์ในในเรื่องของ software protocol ที่อนุมัติให้ใช้คริปโตในการเป็นระบบไร้ศูนย์กลาง

จุดมุ่งหมายของมูลนิธิ Web3 นั้นคือการส่งเสริมและแนะแนวทางสำหรับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด และการนำไปใช้งานในทุกๆระดับของ Web3 ซึ่งแนวทางหลักนั้นคือการวิจัย พัฒนา การนำออกใช้งาน การระดมทุน และการบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยี Web3 รวมทั้งการสนับสนุนและการศึกษา การช่วยเหลือผู้พัฒนา สนับสนุน middleware และแอพพลิเคชั่นพื้นฐาน

สภาของมูลนิธิ Web3 นั้นเป็นศูนย์ควบคุมหลัก มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการมูลนิธิ สมาชิกและผู้ก่อตั้งของ Web3 นั้นประกอบด้วย Dr.Gavin Wood (ประธานและผู้ก่อตั้ง) Dr. Aeron Buchanan (รองประธาน) และ Reto Trinkler

มูลนิธิใดๆในสวิตเซอร์แลนนั้นจะต้องอยู่ในการดูแลของรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่ง Web3 นั้น ได้รับอนุญาตจาก Eidgenössische Stiftungsaufsicht ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาล ในเดือนกรกฎาคม ปี 2018

Web3 มีบทบาทอะไรใน Polkadot?

  • มูลนิธิ Web3 นั้นตั้งใจที่จะใช้เงินจากการขายเหรียญในช่วง DOT จำนวนมากเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของ Web3 ซึ่ง Polkadot ก็เป็นหนึ่งในนั้น

เนื่องจาก Web3 นั้นไม่ใช่บริษัทพัฒนาซอฟแวร์ จึงมีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับนักพัฒนาจากภายนอก ดังนั้น Web3 จึงได้มีการทำข้อตกลงร่วมกับ Parity Technologies ซึ่งทาง Parity นั้นจะทำการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์ม Polkadot อย่างไรก็ตาม มิได้มีความสัมพันธ์ใดๆระหว่างมูลนิธิกับ Parity Technologies ซึ่งการตัดสินใจใดๆนั้น จะมี robust measure ในการควบคุม

หลังจากรู้จักกับทางระบบ Polkadot และผู้ก่อตั้งอย่าง Dr.Gavin Wood และมูลนิธิ Web3 กันแล้ว เรามารู้จัก Kusama กันให้มากขึ้น ถึงฟังก์ชันต่างๆ และความต่างของทั้งสองระบบกันครับ

Kusama ทำงานอย่างไร?

Kusama นั้นพัฒนามาจาก Substrate และใช้โค้ดแทบจะตัวเดียวกับกับ Polkadot ซึ่งเครือข่ายนี้คือระบบในการทดลองพัฒนาสำหรับทีมใดๆที่ต้องการจะไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและมีนวัตกรรมบน Kusama หรือต้องการทดสอบก่อนการปล่อยแอพใดๆบน Polkadot

ประตูสู่บล็อกเชนต่างๆ

โปรเจคใดๆที่ต้องการเข้าสู่ระบบของ Polkadot ทาง Kusama นั้นมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจสำหรับผู้พัฒนาดังนี้

  • กระบวนการทำซ้ำอย่างรวดเร็ว: Kusama นั้นเหมาะสมสำหรับ startup ขนาดเล็กที่ต้องการเติบโตอย่างรวดเร็วและการทำขั้นตอนซ้ำๆ ด้วยการลดเงื่อนไขในการเข้าร่วม

  • ประสบการณ์อันล้ำค่า: เพราะ Kusama และ Polkadot นั้นแทบจะใช้โค้ดตัวเดียวกันทั้งหมด การเริ่มทดสอบบน Kusama ก่อนจะไปปรับแต่งอีกครั้งใน Polkadot จึงเป็นความคิดที่ดี

  • เทคโนโลยีที่ล้ำหน้า: ด้วยฟีเจอร์ของการเป็นสถานที่ทดสอบ Kusama นั้นจะได้รับการอัพเกรดด้วยเทคโนโลยีล่าสุดของทาง Parity Technologies และ มูลนิธิ Web3 ก่อนหน้า Polkadot

ภาพแสดงโครงสร้างของ Polkadot

ระบบ Polkadot Relay Chain หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “Polkadot”

Kusama ซึ่งเป็น canary network ของ Polkadot นั้น ถูกสร้างขึ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพื่อเป็นระบบอีกระบบหนึ่งที่จะเป็นสนามทดสอบสำหรับทีมงานและผู้พัฒนาต่างๆ ในการสร้างและปล่อย parachain หรือทดสอบฟังก์ชั่นของ Polkadot ในสภาพแวดล้อมเหมือนจริง

กล่าวสั้นๆคือ Kusama เหมือนห้องทดลองสำหรับระบบ Polkadot นั่นเองครับ ซึ่งเดี๋ยวเราไปรู้จักกับเทคโนโลยีต่างๆ และระบบ Parachain บน Kusama กันครับ

เทคโนโลยี

ระบบเครือข่าย Kusama นั้นเป็นระบบ canary network ของ Polkadot ซึ่งใช้เทคโนโลยีเดียวกัน ซึ่งคือการใช้ระบบ shard ที่การถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง parachain นั้น จะอยู่ในสภาวะพิเศษ ซึ่งจะเป็นการสลับบล็อกเป็นชิ้นๆเพื่อไม่ให้เกิดการลักลอบดักจับการสื่อสารได้

จากการออกแบบของ Kusama หาก logic ของเชนใดๆ สามารถประกอบกันเป็น WebAssembly ได้ ก็สามารถเข้ากับระบบของ Kusama ได้

.

Kusama นั้นมีระบบ Relay Chain เป็นระบบหลักเหมือน Polkadot โดย Parachain จะเสนอบล็อกใหม่ในการทำธุรกรรมให้กับผู้อนุมัติบน relay-chain ขณะที่บล็อกเดิมนั้นได้ผ่านการตรวจสอบการเข้าถึงและการเข้ากันได้ก่อนจะสิ้นสุดธุรกรรม

Founders

Gavin Wood โปรแกรมเมอร์ชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum และมีบทบาทในฐานะ Chief Technology Officer (CTO) ของ Ethereum เขาได้เจอ 5 ผู้ก่อตั้ง Ethereum ที่ไมอามี่ก่อนที่จะมี งานประชุม “North American Bitcoin conference” ในปี 2014

ในปี 2014 นาย Gavin Wood ได้ทำการเผยแพร่ “Ethereum Yellow Paper” ซึ่งเป็นการลงลายระเอียดที่ลึกมากขึ้นต่อยอดมาจาก “Ethereum White Paper” ของนายVitalik ซึ่งในเวลาต่อเขาก็ได้เสนอ ภาษาโปรแกรมมิ่งของ Ethereum อย่างเป็นทางการ หรือ “Solidity” นั้นเอง

ต่อมานาย Wood ได้ออกมาเปิดบริษัทของเขาเอง และ มีผู้ร่วมก่อตั้งคือ นาย Jutta Steiner แต่ในท้ายที่สุดเขาได้เปลี่ยนเส้นทางของเขาอย่างชัดเจน โดยมีวิสัยทัศน์ ที่อยากจะไม่ได้มองว่าจะมีเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งที่จะขึ้นมาเป็นใหญ่เพียงหนึ่งเดียว แต่มองว่าบล็อกเชนแต่ละเครือข่ายนั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์ ข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายเหล่านี้เข้าด้วยกัน หรือก็คือกำเนิด โปรเจค Polkadot (Connecting the Dots)

สถานะปัจจุบัน : ปัจจุบันนาย Gavin Wood โฟกัสกับการพัฒนาเหรียญ Polkadot (DOT) และ Kusama (KSM)

LinkedIn

Roadmap

Kusama Chain Candidate 1 (CC1)

สิงหาคม 2019

Network Launch

Kusama นั้นเป็นระบบต้นแบบของ Polkadot ที่ไม่ได้มีการปรับแต่งแก้ไขใดๆ และทำงานแยกออกจากกันในฐานะ canary network เพื่อเป็นสถานที่ทดสอบระบบการควบคุม การฝากเหรียญ และการทำ shard รวมทั้งเป็นที่สร้างและปล่อย parachain ของทางทีมงานและผู้พัฒนาต่างๆ ในสภาวะแวดล้อมจริง

สามารถอ่านเพิ่มได้ที่:

Kusama Rollout and Governance โดย Gavin Wood

Kusama Chain Candidate 2 (CC2)

กันยายน 2019

Software Release

ในทางเทคนิคแล้ว การอัพเกรด CC2 นั้นคือการสร้าง chain ใหม่ (เทียบกับ CC1) รวมทั้งการแก้ปัญหาหลักๆ หลายจุด โดยธุรกรรมจาก CC1 ทั้งหมดนั้นจะรวมอยู่ใน CC2 ด้วย ทำให้ข้อมูลของผู้ใช้นั้นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

สามารถอ่านเพิ่มได้ที่:

Kusama CC2 โดย Gavin Wood

Kusama Chain Candidate 2 (CC2): PrePoS

ตุลาคม 2019

Software Release

CC2 นั้นได้ผ่านการอัพเกรดเพื่อเตรียมพร้อมในการใช้งานระบบ Proof-of-Stake (PoS) แทนระบบ Proof-of-Authority ที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งระบบ PoS นี้จะนำออกใช้จริงหลังจากปล่อย Polkadot v0.6.17 ซึ่งเวอร์ชั่นนี้จะมีระบบเลือกตั้งแบบสภา ที่จะให้ผู้เข้าร่วมสามารถออกเสียงเลือกตั้งผู้ที่มีส่วนได้เสียกับระบบ Kusama เข้าสู่สภา (ซึ่งเป็นระบบควมคุมบนบล็อกเชน) ซึ่งเวอร์ชั่นถัดไปอย่าง v0.6.18 จะอัพเกรดระบบ GRANDPA เป็นเวอร์ชั่น 0.10.0 และมีฟีเจอร์ใหม่ๆ

สามารถอ่านเพิ่มได้ที่:

Kusama CC2: PrePoS โดย Gavin Wood

Kusama Chain Candidate 3 (CC3)

พฤศจิกายน 2019

Software Release

On a granular level, it incorporates on-chain authority discovery, a move to prefixed storage mappings, and a revamp of the network’s governance system.

Kusama's new decentralized, on-chain governance system eventually passed Referendum 4, which removed Sudo requirements and unlocked KSM token transfers.

ระบบได้ทำการเปิดตัว on-chain authority การเปลี่ยนไปใช้ prefixed storage mapping และการปรับระบบควบคุมใหม่ทั้งหมด

ซึ่งระบบไร้ศูนย์กลางใหม่ของ Kusama ได้ผ่านวาระที่ 4 ( Referendum 4) แล้ว โดยจะลบเงื่อนไข Sudo และปลดล็อกการถ่ายโอนโทเคน KSM

สามารถอ่านเพิ่มได้ที่:

Polkadot v0.7.0 and Kusama CC-3 โดย Gavin Wood

Failed Runtime Upgrade

January 2020

Vulnerability

สืบเนื่องจาก Kusama นั้นพยายามที่จะอัพเกรดระบบเป็นเวอร์ชั่น 1034 ทำให้เกิดปัญหา brick ขึ้น ทางทีมงาน Polkadot นั้นได้ทำการแก้ไขด้วยการอัพเดทหลายครั้งเพื่อปรับให้ chain กลับมาดังเดิมและลบการอัพเกรดที่ผิดพลาดออก และเพิ่มความเร็วในการทำงานของ chain (หรือที่เรียกกันว่า “time warp”) เพื่อที่ทาง Kusama ที่ย้อนอัพเดทกลับไปจะได้กลับมาส่วนช่วงเวลาปกติ ซึ่งกระบวนการนี้สิ้นสุดในวันที่ 12 มกราคม หลังจากเกิดเหตุผิดพลาดได้ 8 วัน

สามารถอ่านเพิ่มได้ที่:

Kusama's First Adventure โดย Gavin Wood

ปี 2021 และ 2022

การประมูล Parachain Slot ครั้งที่ 17 บน Kusama นั้นกำลังดำเนินอยู่ โดยมีแผนประมูลทั้งหมด 35 แผน โดยการประมูลครั้งแรกเริ่มวันที่ 15 มิถุนายน 2021 และการประมูลสุดท้าย (แผนที่ 35) จะเริ่มวันที่ 4 พฤษภาคม 2022 และจบในวันที่ 11 พฤษภาคม 2022

หลังจากดูแผนพัฒนากันแล้ว ต่อไปเราไปรู้จักกับเหรียญประจำระบบอย่าง KSM กันครับ

Tokenomics

KSM โทเค็น

  • ชื่อเหรียญ: Kusama
  • ชื่อย่อ: KSM
  • บล็อกเชน: Kusama
  • มาตรฐานโทเคน: กำลังอัพเดท…
  • สัญญา: กำลังอัพเดท…
  • ประเภทของโทเคน: Utility and Governance
  • ปริมาณเหรียญทั้งหมด: 10,000,000 KSM
  • ปริมาณเหรียญหมุนเวียน: 8.980.098 KSM

ผู้ถือเหรียญ KSM นั้นสามารถใช้งานได้ดังนี้:

  • เชื่อมกับเครือข่ายเพื่ออนุมัติการทำธุรกรรมหรือเปิดระบบ parachain
  • จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมและการส่งข้อความ
  • ออกเสียงเลือกนโยบายของทางระบบควบคุมหรือออกเสียงเลือกผู้อนุมัติ

ผู้ลงทุนในชั้น DOTs จากการขายเหรียญครั้งก่อนหน้านั้น จะได้รับการจัดสรรเหรียญ KSM บางส่วนตามแล้วแต่จะเลือก ซึ่งทาง Parity Technologies นั้นได้เปิดตัว “frictional faucet” ของเหรียญ KSM (ซึ่งเป็นกลไกในการจำกัด output ต่อหนึ่งบัญชี)เอาไว้แล้ว และจัดสรรเหรียญโทเคนให้ผู้ที่ไม่ได้ลงทุนในช่วง DOT

ทาง Parity Technologies และ มูลนิธิ Web3 นั้นจะเก็บเหรียญ  1% จากปริมาณเหรียญทั้งหมด (100,000 เหรียญ) ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและชุมชนของ Kusama

Partnerships

ระบบนิเวศของ Kusama

ปัจจุบัน Kusama นั้นมี parachain เข้าร่วม 19 ตัว โดยส่วนหนึ่งคือ Karura (ระบบของ Acala) Moonriver (ระบบของ Moonbeam) Shiden (ระบบของ Astar) ซึ่ง parachain เหล่านี้ได้รันบนระบบของ Kusama มานานแล้ว และได้เติบโตเต็มที่ในระบบ ทำให้ทาง Kusama ได้มี parachain ในการทำหน้าที่เฉพาะในทุกๆอย่าง ตั้งแต่ DeFi จนถึงการยืนยันตัวตน ห่วงโซ่อุปทาน เกมมิ่ง NFT IoT DAOs และอื่นๆ

ภาพแสดงระบบของ Kusama

หลังจากเปิดประมูลครั้งที่ 17 ได้มีโปรเจค 19 ตัวบนระบบของ Kusama จนถึงตอนนี้ โดยทั้งหมดนั้นสร้างรายได้ให้ Kusama เกือบ 850 ล้าน USD ในการซื้อ parachain slot ในระบบ (ยกเว้น parachain สองตัวที่เป็น common good ชื่อ Statemine และ Encointer)

นอกจากนี้ มูลค่าสุทธิของ Kusama นั้นอยู่ที่ 3200 ล้าน USD แม้จะเป็นเพียงระบบทดสอบของ Polkadot ก็ตาม (เทียบกับบล็อกเชน layer 1 อื่นๆ ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 5 - 10 ล้าน USD) ซึ่ง Kusama นั้นได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำงานที่เป็นเอกเทศอย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องพึ่ง Polkadot

ภาพแสดงโปรเจคชั้นนำบน Polkadot และ Kusama (ที่มา: Coin98 Analytics)

นักลงทุนสามารถลงทุนใน parachain ต่างๆเหล่านี้ เช่น Moonriver, Karura และอื่นๆ แต่พึงระลึกว่า Polkadot กับ Kusama นั้นแม้จะเกี่ยวข้องกัน แต่เป็นระบบคนละตัวกัน และ Polkadot นั้น จะใช้ง่ายกว่าสำหรับผู้ที่เพิ่งรู้จักระบบสองตัวนี้ เพราะ Kusama นั้นอาจจะมีอะไรหลายอย่างที่ไม่น่าดึงดูด (รวมทั้งการไหลของเงิน) เท่า Polkadot

ทาง Kusama นั้น ได้มีโร้ดแมพการพัฒนาดังนี้ครับ

Summary

Kusama คือ canary network ของระบบบล็อกเชน Polkadot ซึ่งถูกพัฒนาโดยทีมงานเดียวกัน ซึ่งทาง Kusama นั้นมีส่วนประกอบและโค้ดแทบจะเหมือน Polkadot เกือบทุกประการ แต่จะรันแยกกันโดยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ซึ่งจุดเด่นของระบบนั้น เช่นเดียวกับ Polkadot คือระบบ sharding ที่รองรับนวัตกรรมใหม่ๆ และมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเป็นระบบที่เหมือนกับ Polkadot มาก Kusama จึงเป็นสถานที่สำหรับการทดลองปล่อยและใช้ Parachain ต่างๆสำหรับทีมงานและผู้พัฒนา ซึ่งมีข้อดีคือ ทาง Kusama จะได้รับเทคโนโลยีใหม่ๆก่อน Polkadot เพราะเป็นสถานที่ทดลอง และมีเงื่อนไขในการเข้าร่วมง่ายกว่า Polkadot

เหรียญอื่นๆที่น่าสนใจ