Information

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในวงการการผลิตและเผยแพร่ผลงานเพลงโดยมีต้นเหตุมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพราะตอนนี้การจะผลิตเพลงขึ้นมาสักหนึ่งเพลง ไม่จำเป็นต้องมีทีมโปรดักชั่นหรือวิศวกรเสียงแล้วครับ ใคร ๆ ก็สามารถสร้างเพลงขึ้นมาเองได้จากห้องนอนตัวเองด้วยซอฟต์แวร์ที่มีราคาไม่แพง และเช่นเดียวกันกับการจะเผยแพร่งานเพลงตัวเองครับ เดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบริษัทเพื่อเข้าไปอัดเสียง และไม่ต้องอาศัยเส้นสายในการนำเพลงไปวางขายในร้านอีกต่อไปแล้ว เพราะตอนนี้เรามีแพลตฟอร์มให้บริการเพลงมากมายที่ช่วยให้ศิลปินสามารถวางขายเพลงของตัวเองได้เลย
แต่แม้ตอนนี้จะมีการเผยแพร่ชิ้นงานในรูปแบบดิจิทัลมากมายแค่ไหน เครือข่ายคนกลางที่มีมาตั้งแต่ยุคยุคบันทึกเสียงก็ยังคงมีอิทธิพล และรุ่งเรืองอยู่เบื้องหลังศิลปินและผู้ดูแลต่าง ๆ อยู่ครับ ในขณะที่กลไกการส่งผ่านคุณค่าและการตั้งเกณฑ์การวัดผลนั้นยังคงยุ่งเหยิงอยู่มาก ๆ
ในปี 2017 อุตสาหกรรมเพลงสร้างรายได้สูงถึง 43 พันล้านเหรียญ แต่เม็ดเงินที่ส่งไปถึงมือศิลปินจริง ๆ มีเพียงแค่ 12% เท่านั้นเองครับ เมื่อเทียบกับวงการอื่น ๆ อย่างเช่น ในลีกกีฬาอเมริกันฟุตบอล (NFL) ผู้เล่นมีรายได้อย่างน้อย 47% จากรายได้ทั้งหมดที่ทีมหามาได้ หรืออย่างผู้เล่นในลีกบาสเกตบอลอาชีพ (NBA) พวกเขามีรายได้อยู่ที่ระหว่าง 49 - 51% ถ้ามาดูกันที่แพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่งานเพลงที่ผลิตขึ้นโดยผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มจะเห็นว่ายังต้องยอมจำนนให้กับอิทธิพลของสถาบันเพลงต่าง ๆ ที่มีมาเนิ่นนาน ทำให้เกิดความยากลำบากในการหาโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน เพราะสถาบันต่าง ๆ ที่มีอยู่นั้นได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากแรงงานในเครือข่ายตัวเอง หรือในที่นี้ก็คือศิลปินไปเสียเยอะเลย
ปัญหาในปัจจุบัน
เราพบความท้าทายเฉพาะด้านหลายเรื่องที่เหล่าศิลปินและแฟนเพลงกำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งสรุปออกมาได้ดังนี้
1. ความท้าทายด้านความโปร่งใสในเรื่องการจ่ายเงินให้แก่ศิลปินที่มีน้อยจนถึงแทบจะไม่มีเลย (เช่น จำนวนงานแสดง สถานที่ รายได้รวมก่อนจะหักค่าธรรมเนียม)
2. ข้อมูลสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งมักจะกันศิลปินผู้ผลิตคอนเทนต์ไม่ให้ได้รับรายได้ แต่รายได้จะสะสมอยู่ในระบบ DSPs (digital service providers) และในองค์กรจัดการสิทธิ์แทน
3. การจ่ายงินให้แก่ศิลปินต้องผ่านคนกลางหลายชั้น รวมถึงค่อนข้างที่จะล่าช้า
4. การเผยแพร่เรื่องลิขสิทธิ์นั้นมีความซับซ้อนและคลุมเครือ และยังไม่ช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมจัดทำข้อมูลด้านลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องและสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ
5. การรีมิกซ์ โคเวอร์ และการดัดแปลงผลงานรูปแบบอื่น ๆ นั้นถูกเซนเซอร์เป็นจำนวนมากเนื่องจากประเด็นเรื่องการจัดการลิขสิทธิ์
6. ประเด็นเรื่องการให้ใบอนุญาตนั้นจำกัดการเข้าถึงผลงานและระบบ DSPs ในตลาดโลก

โปรเจ็ค Audius
เพราะเหตุนี้ โปรเจ็ค Audius จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยมีภารกิจคือการมอบอิสรภาพทุกคนในการกระจาย สร้างรายได้ และสตรีมผลงานเพลง
โปรโตคอลของ Audius คือการนำศิลปิน ผู้ให้บริการโหนด และแฟนคลับมาเจอกันในรูปแบบที่มีแรงกระตุ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ศิลปินเหล่านี้สามารถสร้างประสบการณ์การสตรีมเพลงที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาได้โดยปฏิบัติตามแนวคิดพื้นฐานเหล่านี้
1. ผู้ใช้งานควรได้รับค่าตอบแทนในสัดส่วนที่เทียบเท่ากับคุณค่าที่พวกเขาสร้างให้แก่เครือข่าย
2. ศิลปินควรจะมีส่วนร่วมและทำการเจรจากับแฟนเพลงได้โดยตรง
3. อำนาจการบริหารควรได้รับจากการสร้างคุณค่าให้ให้แก่ Audius และแบ่งปันอย่างสม่ำเสมอระหว่างกลุ่มผู้ใช้งานที่มีส่วนให้ความช่วยเหลือต่อโปรโตคอล
4. ราคาและรายได้สำหรับผู้ที่มีส่วนร่วมควรจะมีความสม่ำเสมอ สามารถคาดการณ์ได้และมีความโปร่งใส
5. การเข้าถึงควรจะเป็นแบบประชาธิปไตย ใคร ๆ ก็สามารถมีส่วนช่วยเหลือ Audius ได้ ถ้าพวกเขาทำตามกฏโปรโตคอล นอกจากนี้ข้อมูลทุกอย่างจะต้องเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ
6. ตัวกลางทั้งหลายควรจะต้องถูกลบออกไปถ้าเป็นไปได้ และถ้าจำเป็นพวกมันควรอยู่ในรูปแบบอัลกอริธึ่มที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบความถูกต้องได้
โปรโตคอล Audius ช่วยให้ศิลปิน แฟนคลับ และผู้ให้บริการโหนดสามารถสร้างประสบการณ์การสตรีมเพลงที่มีคุณภาพสูงส่งตรงไปถึงผู้ฟังปลายทางได้ โดยไม่ต้องผ่านโครงสร้างพื้นฐานอย่างในระบบแบบรวมศูนย์ ซึ่งโปรโตคอลประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 5 ข้อ ที่ทำงานร่วมกัน:
1. เหรียญ Audius, Stablecoin, เหรียญของศิลปิน: ทั้งหมดนี้เป็นระบบนิเวศเหรียญที่อยู่บนแพลตฟอร์มและที่ถูกแชร์ออกไป ซึ่งทั้งหมดจะเป็นตัวกระตุ้นผู้มีส่วนร่วมใน 3 แง่ของการทำงานด้วยกัน คือ การเข้าถึง ความปลอดภัย และการบริหาร
2. โหนดเนื้อหา: เครือข่ายโหนดที่มีผู้ใช้งานเป็นผู้บริหารจัดการเพื่อโฮสต์เนื้อหาและอนุญาตให้เข้าถึงเนื้อหาในฐานะตัวแทนศิลปิน
3. บัญชีเนื้อหา: แหล่งข้อมูลที่ถูกต้องแหล่งเดียวสำหรับข้อมูลทั้งหมดที่สามารถเข้าถึงได้ภายในโปรโตคอล Audius ซึ่งจะยึดติดอยู่กับแหล่งข้อมูลของเนื้อหาต่าง ๆ ที่โฮสต์โดยโหนดเนื้อหา
4. โหนดค้นหา: เครือข่ายโหนดที่มีผู้ใช้งานเป็นผู้บริหารจัดการที่เป็นเครื่องชี้วัดบัญเนื้อหาของ Audius และจัดหาการเชื่อมต่อที่ง่ายต่อการสอบถามเพื่อดึงข้อมูลเมต้าดาต้า
5. การบริหาร: กลไกที่ใช้ในการดัดแปลงและพัฒนา Audius ซึ่งแชร์การควบคุมไปให้ผู้ที่เคยสร้างและกำลังสร้างคุณค่าแก่ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่
Founders
เมื่อไม่นานมานี้โรเนียลได้ร่วมก่อตั้งบริษัทสนับสนุนเงินลงทุนในรอบ seed ที่ชื่อว่า Kleiner Perkins ซึ่งที่ KP เขามีหน้าที่รับผิดชอบจัดการเรื่องการลงทุนในรอบ seed ในบริษัทที่ทำเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนและ AI ซึ่งที่เคยร่วมลงทุนไปแล้วก็เช่น Lightning Labs ย้อนไปสมัยเรียนเขาเข้ารับการศึกษาที่
Roadmap
รายละเอียดด้านล่างเป็นข้อมูลวิเคราะห์ถึงความก้าวหน้าที่ Audius ได้ทำมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านโปรโตคอลที่ครอบครองและปฏิบัติการโดยการบริหารแบบกระจายศูนย์
จุดเริ่มต้น (05/2018—12/2018)
ไม่นานหลังจากที่โปรเจ็คได้ถูกสร้างขึ้น ทีมงานก็ได้ปล่อยเอกสารนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ Audius เวอร์ชันแรกออกมา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับแผนงานต่าง ๆ ในการพัฒนาโครงสร้างและการส่งมอบแผนปฏิบัติงานของเทคโนโลยีต่าง ๆ ของ Audius ที่ใช้งานได้แล้ว เช่น สัญญาอัจฉริยะ โหนดเนื้อหา และโหนดค้นหา
เฟส Alpha แบบส่วนบุคคล (01/2019—07/2019)
6 เดือนหลังจากสร้างโปรเจ็คขึ้นมา ทีมงานก็ได้เริ่มชักชวนผู้ใช้งานกลุ่มแรก ๆ ให้มามีส่วนร่วมกับโปรโตคอล และขอฟีดแบ็คจากลูกค้ากลุ่มแรก ๆ ที่ได้ลองสัมผัสการปฏิบัติการของ Audius ในเฟสนี้ การเข้าถึงผลิตภัณฑ์จะอนุญาตให้มีการเข้าถึงเฉพาะแบบชักชวนเข้ามาเท่านั้น และมีการจัดการประเด็นปัญหาใหญ่ ๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุมอย่างดี ก่อนจะแนะนำให้แก่ผู้ให้บริการโหนดที่เป็นบุคคลที่ 3 ได้เข้ามาในเครือข่าย
ในจังหวะนี้ เนื้อหาทั้งหมดได้ถูกอัปโหลดไปบนเครือข่าย Audius ที่โฮสต์อยู่บน IPFS และลูกค้าจะได้ใช้งานปฏิบัติการเริ่มต้นของโหนดเนื้อหาและโหนดค้นหาได้โดยตรง ลูกค้าของ Audius ยังจะได้เห็นฟีเจอร์พิเศษอย่างกลไกการล็อกอินบน web3 ที่ชื่อว่า Hedgehog อีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนด้วยอีเมลและรหัสผ่านในรูปแบบที่ไม่ต้องอาศัยความไว้วางใจมากนัก แทนการเชื่อมต่อกับ Metamask วิธีนี้เป็นไปในรูปแบบโอเพนซอร์สในฐานะโปรเจ็คสแตนด์อโลน เพื่อช่วยให้สินค้าสำหรับผู้บริโภคบรรลุการมีระดับการใช้งานที่สูงขึ้น
การทดสอบรอบ Testnet (08/2019—09/2020)
โปรโตคอล Audius เริ่มรับผู้ให้บริการโหนดที่เป็นบุคคลที่สามเข้ามาในเครือข่ายในเฟสนี้ และเริ่มมีคอนเทนต์ที่ผลิตโดยศิลปินรวมถึงมี metadata ที่โฮสต์โดยผู้ใช้งานปลายทางเป็นครั้งแรก ตลอดช่วงเวลานี้ ขณะที่มีผู้ให้บริการโหนดออนบอร์ดเข้ามามากขึ้น ทีมพัฒนาโปรเจ็คก็ได้ลดโหนดส่วนใหญ่ที่ใช้ปฏิบัติงานภายในลงและคงเอาไว้เพียงแค่กลไกคานารี่บางตัวเท่านั้นเพื่อจะได้รู้ว่าเครือข่ายกำลังทำงานเป็นอย่างไรบ้าง
หนึ่งเดือนหลังทดสอบรอบ testnet ตอนช่วงปลายเดือนกันยายน 2019 Audius ได้มีการปล่อยให้ลูกค้ากลุ่มแรกได้ใช้งานอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก ซึ่งมีฟังก์ชันพื้นฐานต่าง ๆ ที่ปล่อยออกมาให้ใช้งานกันเพื่ออัปโหลดคอนเทนต์ รับชมคอนเทนต์ ค้นหาและติดตามศิลปิน และอื่น ๆ
ผ่านไปหลายเดือนหลังจากนั้น ฟีเจอร์อีกมากมายสำหรับให้ลูกค้าใช้งานก็ถูกปล่อยออกมาอีก เช่น การแจ้งเตือน การใช้งานบนโทรศัพท์มือถือและบนหน้าเดสก์ท็อป การแข่งขันรีมิกซ์ผลงาน และมี API ที่ถูกบันทึกเรียบเรียงไว้อย่างดีเพื่อใช้ผสานเข้ากับโหนดต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานเป็นคนควบคุมจัดการโดยตรง ซึ่งตอนท้ายของการทดสอบรอบ testnet นี้ โปรโตคอลได้ถูกนำไปใช้โดยแฟน ๆ กว่า 500,000 คนในทุก ๆ เดือน
การปล่อยรอบ Mainnet (10/2020)
การปล่อยรอบ mainnet ของ Audius ถือเป็นต้นกำเนิดของเหรียญของแพลตฟอร์ม Audius ทำให้แฟนคลับ ศิลปิน และผู้ดูแลได้รับรายได้ส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มในฐานะผู้ใช้งานที่สร้างคุณค่าให้แก่แพลตฟอร์ม และนอกจากนี้ พร้อม ๆ กับชุด use-case ต่าง ๆ ของลูกค้าที่ก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บข้อมูลไว้ Audius จะเปิดตัวแดชบอร์ดของโปรโตคอลเพื่อแสดงการวิเคราะห์และการบริหารจัดการให้ผู้มีส่วนร่วมทุกคนได้เห็น
ช่วงก้าวข้ามช่องโหว่ (12/2020 และหลังจากนั้น)
คอมมูนิตี้ของ Audius มีการผลิตกลไกใหม่ ๆ มากมายออกมาเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของคอนเทนต์และเพื่อสร้างรายได้ในแบบที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถทำได้ การทำเช่นนี้เบื้องหลังได้รับการซัพพอร์ตโดยเหรียญคริปโตดั้งเดิมในการรันตัวโปรโตคอล ซึ่งขณะที่ตัวแพลตฟอร์มกำลังรักษาสมดุลในการเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างโลกคริปโตและผู้รับชมบนช่องทางหลัก Audius ก็จะคอยจัดลำดับการเรียบเรียงให้ชัดเจนเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานแบบเป็นธรรมชาติที่วางเป็นรากฐานบน web3 ไว้
ด้วยเหรียญ Audius นี้ ผู้มีส่วนร่วมที่ยังคงใช้งานอยู่จะควบคุมการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโปรโตคอล ผ่านการกระจายเหรียญที่กำลังดำเนินอยู่ไปยังผู้มีส่วนร่วมหน้าใหม่คนอื่น ๆ และเพื่อรักษาสมดุลอำนาจการบริหาร ผู้เข้าร่วมทั้งหลายของโปรโตคอลจะต้องให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่สร้างคุณค่าให้แก่แพลตฟอร์ม หรือต้องยอมให้อำนาจบริหารของตัวเองถูกลดทอนลงและถูกแทนที่ด้วยคนอื่นที่สามารถมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์มได้ดีกว่า
การจะทำอย่างนั้น Audius จะต้องมีอยู่ตลอดไปในฐานะโปรโตคอลทีถูกครอบครองและดำเนินการโดยตัวผู้ใช้งานแบบเบ็ดเสร็จ และได้รับการดูแลโดยการบริหารของคอมมูนิตี้
Tokenomics
โมเดลเหรียญ
โปรโตคอล Audius จะถูกนำไปใช้โดยผู้ถือผลประโยชน์จำนวนมากที่มีความหลากหลายและมีเป้าหมายแตกต่างกัน และเพื่อให้ผู้ถือผลประโยชน์ร่วมทั้งหลายเหล่านี้ทำงานด้วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายของเครือข่ายที่มีร่วมกันได้ ความต้องการของพวกเขาจำเป็นต้องถูกนำมารวมกันเป็นโครงสร้างแรงจูงใจเดียวกันโดยนำความสนใจของแต่ละคนมาปรับให้สอดคล้องไปกับจุดประสงค์ของโปรโตคอล ซึ่งโปรโตคอลของ Audius นั้นทำงานได้ด้วยเหรียญของแพลตฟอร์ม ($AUDIO) และด้วยแรงสนับสนุนจากคอมมูนิตี้ทำให้ดึง stablecoin จากบุคคลที่สามมาใช้ได้ เช่นเดียวกับเหรียญเฉพาะของศิลปิน เพื่อใช้ในการปลดล็อคฟังก์ชันเพิ่มเติมในอนาคต
- เหรียญ Audius ($AUDIO)
เหรียญที่ใช้งานบนแพลตฟอร์ม Audius สามารถนำไปใช้งานภายในโปรโตคอลได้สามวัตถุประสงค์ด้วยกัน ซึ่งสามารถปลดล็อคได้ด้วยการ staking:
- เพื่อสร้างความปลอดภัย
- เพื่อเข้าถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ
- เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ
เหรียญ Audius ถูกใช้ stake ไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการสร้างบริการที่เพิ่มคุณค่า และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ผู้ stake เหรียญจะได้รับเหรียญที่ขุดออกมาอย่างต่อเนื่อง ได้อำนาจในการบริหาร และได้การเข้าถึงฟีเจอร์พิเศษต่าง ๆ ตอบแทน ซึ่งการจะ stake เหรียญจะต้องอาศัยผู้ให้บริการโหนดในการรันโปรโตคอล Audius และต้องอาศัยศิลปินและผู้ดูแลในการปลดล็อคฟีเจอร์และบริการพิเศษต่าง ๆ ส่วนเหรียญใด ๆ ก็ตามที่ถูก stake ไว้ในโปรโตคอลจะได้รับมอบหมายให้มีอำนาจในการบริหาร เพื่อใช้ในการสร้างโปรโตคอลรูปแบบเดิมในอนาคต
นอกจากนี้เหรียญ Audius ยังถูกใช้เป็นหลักประกันในการทำไอเทมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปินอีกด้วย ตัวอย่างแรก ๆ เริ่มฟักตัวให้เห็นมาตั้งแต่ในคอมมูนิตี้ที่ศิลปินมีการทำเหรียญ ทำตราสัญลักษณ์ และอุปกรณ์สร้างรายได้ต่าง ๆ ในอนาคต แฟนคลับอาจจะใช้เหรียญเหล่านี้แทนตัวศิลปินหรือผู้ดูแล เพื่อมีส่วนร่วมในการเติบโตของพวกเขาบนแพลตฟอร์มและการออกเหรียญใหม่ในอนาคต
ทางฝั่งผู้ให้บริการโหนด พวกเขาก็ต้อง stake เหรียญ Audius เพื่อจัดการกับโหนดค้นหาหรือโหนดเนื้อหา ด้วยจำนวนการ stake ที่มากกว่า สอดคล้องไปกับผลตอบแทนจากการได้รับเลือกจากลูกค้าที่เป็นแฟนคลับที่จะได้มากกว่าเช่นกัน ผู้ให้บริการโหนดจะได้รับผลได้ผลเสียโดยตรงจากการลงทุนในรูปของ $AUDIO และความเป็นไปได้ในอนาคตที่อาจจะมีค่าธรรมเนียมโปรโตคอลเพื่อทำการวางต้นกล้าเงินลงทุนไว้ในโปรโตคอลก่อน
เป้าหมายของคอมมูนิตี้ในมุมของการบริหารคือเพื่อสร้างความมั่นใจว่าเหรียญ Audius จะถูกคัดกรองอยู่เสมอว่าเป็นตัวเอกที่สร้างคุณค่าที่สุดที่นี่ ซึ่งวิธีการตรวจสอบจะใช้เกณฑ์วัดแบบ on-chain เป็นเครื่องวัด มากกว่าการใช้วิธีวัดโดยดูจากว่าใครทำการ stake เหรียญไว้มากที่สุดแต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในระบบนิเวศเลย
2. การใช้จ่ายด้วย Stablecoin
ในอนาคต คอมมูนิตี้ Audius อาจจะนำ stablecoin จากบุคคลที่สามมาใช้งานเพื่อปลดล็อคคอนเทนต์ที่ต้องจ่ายเงิน และเพราะเหรียญเหล่านี้เป็นเหรียญที่มีมูลค่าคงที่ บัญชีการใช้งานแต่ละบัญชีจึงมีความมั่นคง ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ศิลปิน แฟนคลับและผู้ให้บริการโหนดว่าพวกเขาจะสามารถเข้าร่วมในโลกของ Audius ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความผันผวนของราคา และด้วยความที่ stablecoin เป็นเหรียญที่สามารถนำมาแบ่งแยกและโอนให้กันได้อย่างอิสระ จึงเกิดการใช้จ่ายแบบไมโครเพย์เมนต์ที่สามารถแบ่งส่วนย่อยได้จำนวนมาก ซึ่งส่งผลดีต่อตัวศิลปินเพราะทำให้พวกเขาสามารถตั้งอัตราขึ้นมาเองได้อย่างง่ายดาย ส่วนแฟน ๆ เองก็สามารถทำการใช้จ่ายแบบแบ่งจ่ายได้เป็นงวด ๆ หรือเป็นรอบ ๆ ไป
ค่าธรรมเนียมของโปรโตคอลจะคิดเป็นเปอร์เซนต์จากการทำธุรกรรมของ stablecoin ซึ่งนั่นรวมถึงกรณีที่แฟนคลับชำระเงินให้แก่ศิลปินด้วย ค่าธรรมเนียมเหล่านี้จะรวมยอดกันไว้ในกองกลางที่บริหารโดยผู้ถือเหรียญ Audius
3. เหรียญของศิลปิน
ศิลปินสามารถแจกจ่ายเหรียญเฉพาะตัวที่สร้างขึ้นได้โดยตรงบน Audius เพื่อให้แฟน ๆ ที่ครอบครองเหรียญเหล่านั้นตามจำนวนที่กำหนดสามารถนำไปใช้เพื่อแลกกับการเข้าถึงคอนเทนต์พิเศษได้ ส่วนศิลปินถ้าหากต้องการที่จะเข้าถึงเครื่องมือต่าง ๆ ก็ต้องทำการ stake เหรียญ Audius เพื่อใช้งานเครื่องมือเหล่านั้น และบางทีอาจจะได้รับความช่วยเหลือเฉพาะ จากตัวแทนของ Audius ในเรื่องวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการใช้งานเหรียญของพวกเขาในระบบนิเวศ Audius ที่กว้างขึ้น
ศิลปินที่จัดเส้นทางการใช้เหรียญของศิลปินผ่าน Audius จะได้รับผลพลอยได้จากรูปแบบการกระจายเหรียญที่ได้รับการออกแบบขึ้นมา โดยเฉพาะในด้านการสร้างชื่อเสียง ซึ่งขณะที่เหรียญของตัวศิลปินถูกกระจายออกไป ศิลปินจะต้องรักษาการผูกมัดกับเหรียญ AUDIO ไว้ เพื่อให้สามารถใช้งานโปรโตคอลต่อไปได้ การวาง stake แบบนี้เอาไว้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นว่าศิลปินยังคงอยู่ในระบบการกระจายและการดูแลรักษาเหรียญนั้น ๆ ส่วนแฟน ๆ ก็จะได้สบายใจได้ว่าศิลปินผู้ส้รางเหรียญนั้นมีตัวตนอยู่จริง และขณะที่เหรียญถูกกระจายออกไปนั้น สัดส่วนของเหรียญศิลปินทั้งหมดที่มีเจ้าของแล้วอาจจะถูกรวบรวมไว้โดยโปรโตคอล และบริหารเหรียญเหล่านั้นผ่านระบบการจัดการของ Audius
แฟน ๆ จะได้รับเหรียญของศิลปินก็ต่อเมื่อศิลปินเห็นชอบว่าเหมาะสมที่จะได้รับจากการใช้ข้อมูลและกลไกการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่เดิมมีอยู่แล้วในโปรโตคอลมาประกอบการตัดสินใจ นอกจากนี้ศิลปินยังสามารถใชช้เหรียญของตัวเองในการจำกัดการเข้าถึงคอนเทนต์หรือการสร้างประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น เพลงที่ไม่ได้ปล่อยออกมา ต้นฉบับ และการเข้าร่วมการแข่งขันรีมิกซ์ผลงานที่จัดขึ้นมาโดยเฉพาะ
ทางฝั่ง Audius นั้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนจัดหาเหรียญศิลปินทั่วทั้งแพลตฟอร์มการผลิต เช่น เหรียญ Roll เหรียญ Zora และ เหรียญ Rally ไม่ว่าหรียญใด ๆ ก็ตามที่สามารถทำงานร่วมกันได้ Audius สามารถจัดสรรให้ได้ด้วยกลไกการกระจายแบบโปรโตคอลเนทีฟ
การกระจายเหรียญ $AUDIO
Audius ภูมิใจที่จะนำเสนอจุดเริ่มต้นของการกระจายเหรียญ $AUDIO ซึ่งมีปริมาณเหรียญตั้งแต่ตอนปล่อยออกมามากถึง 1 พันล้านเหรียญ การหมุนเวียนของปริมาณเหรียญ $AUDIO จนถึงเดือนกรกฏาคม ปี 2026 ดูได้ตามภาพด้านล่าง

ส่วนจุดเริ่มต้นการกระจายของเหรียญนั้น แรกเริ่มคือมีเหรียญ $AUDIO จำนวนพันล้านเหรียญที่ถูกผลิตออกมาตอนปล่อยตัว ซึ่งแบ่งย่อยสัดส่วนออกมาได้ดังนี้:
- $AUDIOdrop: 55 ล้านเหรียญ AUDIO (5.5%)
เหรียญจำนวนนี้นำไปใช้สำหรับเป็นรางวัลให้แก่ผู้ใช้งานเก่าบนโปรโตคอล Audius และให้แก่ผู้เข้าร่วมในงานอีเวนต์พิเศษต่าง ๆ เหรียญในส่วน $AUDIOdrop นี้ จะหมุนเวียนอยู่ในช่วงของการก่อตั้ง
2. เงินคลังของมูลนิธิ: 178 ล้านเหรียญ AUDIO (17.8%)
มูลนิธิ Open Audio เป็นองค์กรใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อคอยดูแลการเติบโตในระยะยาวของ Audius ซึ่งได้รับเงินทุนจากสัดส่วนของเหรียญก้อนแรกเพื่อการดำเนินโปรแกรมสร้างการเติบโตและสร้างแรงกระตุ้นต่าง ๆ
โดยเหรียญก้อนแรกมูลนิธินำไปใช้กับ $AUDIOdrop และยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินสำรองให้แก่คอมมูนิตี้ Audius ในการจัดสรร แจกจ่าย และใช้ประโยชน์ตามที่พวกเขาเห็นสมควร
3. ทีมงานและผู้ให้คำปรึกษา: 406 ล้านเหรียญ AUDIO (40.6%)
เหรียญส่วนนี้ถูกเก็บไว้ให้แก่ผู้ก่อตั้ง พนักงาน และศิลปินหรือที่ปรึกษาทางด้านกลยุทธ์ของ Audius เหรียญทั้งหมดของทีมงานและที่ปรึกษานั้นมีการกำหนดการปลดล็อคในระยะเวลาสามปี พร้อมกับการปลดล็อคกิจกรรมทุกไตรมาส และในวันที่ 23 เมษา จะมีปรากฏการณ์น่าตื่นเต้นที่จะเกิดขึ้นทุกหกเดือนได้รับการปลดล็อคออกมา
เหรียญในส่วนนี้มีผู้ร่วมรับผลประโยชน์อยู่ประมาณ 80 คน ซึ่งรวมถึงศิลปินชื่อดัง อย่าง deadmau5, 3LAU, และ RAC
4. นักลงทุน: 360 ล้านเหรียญ AUDIO (36%)
เหรียญในส่วนนี้ถูกนำไปจัดสรรให้แก่นักลงทุนที่เข้าร่วมในรอบให้เงินลงทุนแก่ Audius ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นเงินจำนวน 9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ที่ได้เงินสนับสนุนมาตั้งแต่รอบ seed จนถึงรอบ strategic
เป็นเงินจำนวน 9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ที่ได้เงินสนับสนุนมาตั้งแต่รอบ seed จนถึงรอบ strategic
Ref: https://messari.io/asset/audius/profile/launch-and-initial-token-distribution
Partnerships
พันธมิตรทางธุรกิจ
- Solana

หลังจากปล่อย mainnet ของเหรียญ AUDIO ออกมาแล้ว Audius ก็ได้ทำลายสถิติไปเกือบทั่วทุกตารางเมตรของโปรโตคอลต่าง ๆ เพราะสามารถสร้างยอดผู้ใช้งานรายเดือนได้มากถึงแปดแสนราย (เพิ่มขึ้น 30% ในแต่ละเดือน) และมีจำนวนผลงานเพลงเพิ่มขึ้นถึง 33% ซึ่งมียอดอัปโหลดสูงถึง 30,000 รายการ ภายในสี่วัน ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่แพลตฟอร์มมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเลยทีเดียวครับ ตอนนี้ Audius จึงกำลังเตรียมตัวสำหรับภารกิจต่อไปในการกระโดดข้ามรอยแยกไปให้ถึงการมียอดผู้ชมที่มากกว่าเดิมทั้งจำนวนศิลปินและแฟนเพลง
และเพื่อให้สำเร็จตามเป้า ทีมงาน Audius ก็ได้สร้างกระบวนการทดสอบไอเดียก่อนเริ่มโปรเจ็คขึ้นมา ซึ่งประกอบไปด้วยความสามารถในการปรับขยายทั้ง 20 ตัว บนเลเยอร์ 1 และเลเยอร์ 2 หลังจากลงมือศึกษา Audius ก็ได้เลือก Solana มาช่วยในการขยายเครือข่าย เพราะ Solana เป็นเทคโนโลยีบล็อกเชนบนเลเยอร์ 1 ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำธุรกรรมได้มากถึง 50,000 รายการต่อวินาทีด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำเพียง $0.00001 ต่อการดำเนินการ

Solana คืออะไร
Solana คือบล็อกเชนสาธารณะแบบโอเพนซอร์สที่ซัพพอร์ทการทำงานของสัญญาอัจฉริยะต่าง ๆ เช่น NFTs และ DApps ส่วนเหรียญที่ใช้งานบน Solana คือเหรียญ SOL ซึ่งใช้ในการสร้างความปลอดภัยบนเครือข่ายผ่านการ staking และใช้ในแง่ของการเป็นค่าเงินใช้จ่ายบนเครือข่ายอีกด้วย
2. The Graph

Audius ตื่นเต้นมากที่จะได้ร่วมทัพกับ The Graph ในฐานะหนึ่งในสิบพาร์ทเนอร์แรกที่ได้ย้าย mainnet ซึ่ง Audius ก็ได้สร้างผลงานไว้อย่างน่าชื่นชม ด้วยจำนวนผู้ใช้งานรายเดือนที่มากถึง 5 ล้านราย เพราะ Audius เจาะกลุมเป้าหมายไปที่ niche market ที่รู้จักและชื่นชอบการฟังเพลง แต่การจะสร้างเส้นทางแบบรวมศูนย์นั้นหมายความว่าจะต้องสร้างความแตกต่างให้มากขึ้น เพราะโปรโตคอลยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งในแง่ข้อมูลผู้ฟังและศิลปิน
สุดท้ายปลายทางยังมีความน่าตื่นเต้นมากกว่านั้นอีกเพราะ Audius ต้องการใช้ The Graph ในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อ Audius Dashboard นั้นทำงานได้ ซึ่งจะทำให้ทุกคนเห็นภาพการเติบโต การบริหารและการ staking ที่ชัดเจน

ทำความรู้จักเกี่ยวกับ The Graph
The Graph เป็นเลเยอร์ภาษาสอบถามและการทำดัชนีของเว็บแบบรวมศูนย์ นักพัฒนาทั้งหลายสร้างและเผยแพร่ API แบบเปิดขึ้นมา และเรียกว่า กราฟย่อย ที่ตัวแอปพลิชันสามารถใช้สอบถามการใช้ GraphQL ได้ ปัจจุบัน The Graph ทำงานซัพพอร์ทข้อมูลดัชนีจาก Ethereum, IPFS, และ PoA ซึ่งจะมีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นกว่านี้เร็ว ๆ นี้ ตอนนี้กราฟย่อยกว่า 12,000 ตัว ได้ถูกนำมาใช้งานโดยนักพัฒนากว่า 17,000 คน เพื่อสร้างแอปพลิเคชัน เช่น Uniswap, Synthetix, Aragon, Gnosis, Balancer, Livepeer, DAOstack, AAVE, Decentraland และอื่น ๆ อีกมากมาย
Summary
Audius เป็นแพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการสร้างการสตรีมมิ่งและการแชร์ผลงานเพลง ตัวแพลตฟอร์มเปิดตัวขึ้นในปี 2018 พร้อมเหรียญ AUDIO ซึ่งรับหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อนระบบนิเวศ Audius เปิดทางให้ศิลปินผู้สร้างเพลงได้มีปฏิสัมพันธ์กับแฟน ๆ และผู้ฟังของเขาในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งในขณะเดียวกันก็ได้เข้าควบคุมเพลงต่าง ๆ ที่มีการสตรีมและแชร์บนเครือข่าย
Audius ช่วยให้ซิลปินมีรายได้จากการสร้างสรรผลงาน ซึ่งมีโมเดลการดำเนินงานคล้ายกับผู้ให้บริการการสตรีมเพลงแบบดั้งเดิม เช่น Spotify และเมื่อดูในส่วนของรายได้ของอุตสาหกรรมเพลงและการให้บริการการสตรีมเพลง รายได้นั้นมีมูลค่ามากถึงหลายพันล้านเหรียญดอลลาร์ แต่เมื่อผลงานเพลงถูกปล่อยหรือสตรีมออกไป รายได้กลับตกมาถึงผู้ผลิตผลงานเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น Audius เลยได้โอกาสสร้างแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเด็นนี้ขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและโหนด
ด้วยเทคโนโลยีที่ทำงานแบบกระจายศูนย์ของ Audius นี่เอง ทำให้ผู้สร้างผลงานเพลงมีรายได้ทุก ๆ ครั้งที่มีการสตรีมเพลง ซึ่งจะได้รับรายได้ในรูปของเหรียญ AUDIO ซึ่งเป็นเหรียญสำหรับใช้งานบนเครือข่าย ด้วยวิธีนี้ ศิลปินก็จะสามารถสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่องจากผลงานและศิลปะที่พวกเขาสร้างขึ้น จากที่แต่ก่อนที่อยู่ภายใตอำนาจการจัดการของระบบรวมศูนย์ในวงการสตรีมเพลง ศิลปินต้องนั่งรอหลายอาทิตย์ หรืออาจเป็นเดือนเป็นปี กว่าจะได้รายได้ที่ตกมาถึงมือแค่เศษเสี้ยวเท่านั้น
Reference
https://whitepaper.audius.co/AudiusWhitepaper.pdf
https://kriptomat.io/cryptocurrencies/audius/what-is-audius/
https://medium.com/audius/welcome-audio-to-mainnet-409009bc130c
https://messari.io/asset/audius/profile/launch-and-initial-token-distribution
คำเตือน
1.คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน
2.คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนโปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
3.สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้